สติปัญญาเกิดขึ้นจึงจะค้นคว้าหาทางทำลายกิเลสในใจ
ความพอใจความไม่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ความจริงก็เป็นเพียงอารมณ์ เป็นเพียงอาการของจิต ถ้าไม่มีสติปัญญาเห็นความไม่เที่ยงของอารมณ์ เราก็ยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ จิตของเราจึงกระทบความสุขความทุกข์อยู่ร่ำไป ถ้าเราบำเพ็ญสมาธิภาวนา เอาสมาธิเข้าไปควบคุมจิต ควบคุมอารมณ์ของเราได้ ถ้าเราปรารถนาที่จะละกิเลสหรือทำลายกิเลส ก็ต้องใช้สติปัญญาค้นคว้าหาทางทำลาย
การกระทำคุณงามความดี การรักษาศีลก็ได้ชื่อว่าเป็นคนดี เป็นคนดีพอสมควร แต่ถ้าเราปรารถนาที่จะละกิเลสหรือทำลายกิเลสให้บรรเทาเบาบางไปจากจิตใจของเราหรือทำให้สิ้นไปจากจิตใจของเราก็ต้องบำเพ็ญศีลบารมีให้เป็นพื้นฐานของจิต ฆราวาสก็รักษาศีลห้าให้เป็นปกติไม่มีเจตนาที่จะล่วงละเมิดศีล ถ้าเราปรารถนาที่จะทำลายกิเลสแล้ว บำเพ็ญสมาธิเป็นท่ามกลางจนจิตสงบ จนจิตเป็นหนึ่ง เป็นเอกัคคตารมณ์เอกัคคตาจิต ความสงบของจิตเกิดขึ้นจึงจะก่อให้เกิดสติปัญญา สมาธิส่งเสริมให้ก่อให้เกิดกำลังสติปัญญา เมื่อสติปัญญาเกิดขึ้นจึงจะค้นคว้าหาทางทำลายกิเลสในใจ
เราได้ สติปัญญาเข้าไปค้นคว้าหาทางละความโลภให้บรรเทาเบาบางไปคือใช้สติปัญญานี้กลั่นกรองละความโลภ ใช้สติปัญญากลั่นกรองละความโกรธออกไป ใช้สติปัญญากลั่นกรองละความทุกข์ออกไป
พระอาจารย์อัครเดช (ตั๋น) ถิรจิตโต
จากหนังสือ “ฝึกใจให้ถึงธรรม”
โครงการ “พักใจไว้กับธรรม”(ธรรมะวันอาทิตย์สิ้นเดือน)
วันที่ 28 สิงหาคม 2559
ณ อาคารปฏิบัติธรรมมูลนิธิมายา โคตมี
พิมพ์ครั้งที่ 1 ธันวาคม 2559