วาจาสุภาษิตย่อมมีผลแก่ผู้ปฏิบัติ
พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระเถระแล้ว ตรัสว่า "อานนท์ ธรรมดาธรรมที่เรา ( ผู้ตถาคต) กล่าวแล้วย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ฟัง ไม่เรียน ไม่ท่อง ไม่แสดง โดยเคารพ ดุจว่าดอกไม้สมบูรณ์ด้วยสี (แต่ ) ไม่มีกลิ่น (หอม) ฉะนั้น. แต่ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก แก่ผู้ทำกิจทั้งหลายมีการฟังโดยเคารพเป็นต้น " ดังนี้แล้ว
ได้ตรัสสองพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ
วณฺณวนฺตํ อคนฺธกํ
เอํ สุภาสิตา วาจา
อผลา โหติ อกุพฺพโต.
ยถาปิ รุจิรํ ปุปฺผํ
วณฺณวนฺตํ สคนฺธกํ
เอวํ สุภาสิตา วาจา
สผลา โหติ สุกุพฺพโต.
"ดอกไม้งามมีสี (แต่) ไม่มีกลิ่น (หอม) แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมไม่มีผลแก่ผู้ไม่ทำอยู่; (ส่วน) ดอกไม้งาม มีสีพร้อมด้วยกลิ่น (หอม) แม้ฉันใด, วาจาสุภาษิตก็ฉันนั้น ย่อมมีผลแก่ผู้ทำดีอยู่.
คัดบางส่วนจากเรื่อง ฉัตตปาณิ
#ขุ.คาถา.๔๑/๑๔/๑๖
ธรรมะจากพระโอษฐ์
(รวบรวมโดย พระอาจารย์พงษ์พันธ์ ฉนฺทกโร
ที่พำนักสงฆ์สวนโพธิญาณ จ.กาญจนบุรี)